พ.ร.บ. กับ ภาษีรถยนต์ คืออะไร แล้วต้องต่อพร้อมกันรึเปล่า?

Last updated: 23 ม.ค. 2568  |  117 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พ.ร.บ. กับ ภาษีรถยนต์ คืออะไร แล้วต้องต่อพร้อมกันรึเปล่า?

พ.ร.บ. คืออะไร

พ.ร.บ. หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ คือ กฎหมายที่กำหนดให้เจ้าของรถทุกคันต้องทำประกันภัย เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่ง พ.ร.บ. จะครอบคลุมความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัยจากรถ รวมถึงค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพ โดยเจ้าของรถทุกประเภทมีหน้าที่ที่ต้องทำ พ.ร.บ. หากเจ้าของรถยนต์หลีกเลี่ยงไม่ทำ พ.ร.บ. จะมีโทษทางกฎหมาย

 

ภาษีรถยนต์คืออะไร

ภาษีรถยนต์ หมายถึง ค่าธรรมเนียมที่เจ้าของรถยนต์ต้องชำระให้กับรัฐบาลเป็นประจำทุกปี ตามกฎหมายพระราชบัญญัติจราจรทางบก เพื่อให้สามารถใช้รถบนถนนสาธารณะได้อย่างถูกกฎหมาย ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม

ซึ่งอัตราภาษีจะคำนวณตามประเภทรถ ขนาดเครื่องยนต์ และอายุการใช้งาน รถยนต์ส่วนบุคคลจะมีอัตราภาษีตั้งแต่ 100-7,200 บาทต่อปี และต้องชำระภายในวันสิ้นอายุทะเบียนรถยนต์ ซึ่งมักเป็นวันเดียวกับวันจดทะเบียนรถครั้งแรก หากไม่ชำระตามกำหนด จะมีค่าปรับ 1% ต่อเดือนของค่าภาษีที่ต้องชำระ

ผู้ใช้รถทุกคันมีหน้าที่จ่ายภาษีรถประจำปีตาม กฎหมายพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยค่าภาษีรถที่จ่ายไปนั้น จะถูกนำไปบำรุงรักษาซ่อมแซมระบบคมนาคมหรือระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งระยะเวลาครบกำหนดของรถแต่ละคันจะแตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่าง รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน คำนวณภาษีจากความจุกกระบอกสูบ ส่วนรถยนต์ประเภทอื่นคำนวณเป็นรายคันตามน้ำหนัก และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

 

แล้วทำไมต้องต่อพร้อมกันทั้ง 2 อย่าง

สืบเนื่องมาจากเหตุที่ถูกกำหนดไว้ว่า การจะต่อภาษีรถยนต์ประจำปีนั้น จำเป็นต้องมีพ.ร.บ. ก่อน มิเช่นนั้นก็จะต่อภาษีไม่ได้ ดังนั้นจึงเป็นนัยยะเชิงบังคับอยู่แล้วว่า ให้ทำเสียพร้อมๆ กันทั้ง 2 อย่างนั่นเอง เพราะทั้ง 2 อย่างก็มีอายุอยู่ได้ 1 ปีเท่ากัน

 

ถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ. และภาษีรถยนต์ ผิดกฎหมายไหม

การต่อ พ.ร.บ. กับภาษีรถยนต์เป็นข้อกำหนดที่กฎหมายบังคับใช้ในประเทศไทย การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านี้ถือเป็นการละเมิดกฎหมาย หากขาดต่อ พ.ร.บ. จะไม่สามารถชำระภาษีรถยนต์ได้ ซึ่งจะทำให้เราไม่ได้รับความคุ้มครองในกรณีเกิดอุบัติเหตุ หากเราขาดต่อภาษี หรือ ทะเบียนรถยนต์ขาดเกิน 3 ปีจะทำให้ถูกระงับป้ายทะเบียนโดยอัตโนมัติ และจะต้องดำเนินการจดทะเบียนใหม่ซึ่งมีหลายขั้นตอนและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกต่างหาก และการใช้งานรถยนต์ที่ทะเบียนขาดเป็นการละเมิดกฎหมาย มีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท และไม่สามารถขอสินเชื่อรถยนต์หรือเอารถเข้าไฟแนนซ์ได้

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้